ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ : ม.112 ในบริบทการเมืองไทย

เสวนา “112/901-3/3-15/2005-33/2007-126/2009-164/2010-478/113000” โดยนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ที่ร้านหนังสือ Book Re:public จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ณ ร้านหนังสือ Book Re:public  จ.เชียงใหม่ มีการจัดงานเสวนา “112/901-3/3-15/2005-33/2007-126/2009-164/2010-478/113000” โดยมีนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เป็นผู้บรรยาย และนายณัฐกร วิทิตานนท์  อาจารย์จากสำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นผู้ดำเนินรายการ

ปวิ นได้กล่าวถึง การดำเนินคดีในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีมากขึ้นภายหลังจากการรัฐประหาร 2549 ว่าเป็นผลมาจากมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายปัจจัย ทำให้การเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยเปลือกนอก เนื้อในแบบอุดมการณ์กษัตริย์นิยมฝังรากลึกเริ่มไม่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง จึงก่อให้เกิดการใช้ม.112 ของกลุ่ม “คลั่งเจ้า” (หรือได้ผลประโยชน์จากเจ้า) เพื่อเป็นเครื่องมือในการชะลอ ต่อต้าน ยับยั้ง ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของสถาบันกษัตริย์……รายละเอียดจะ เป็นอย่างไร ติดตามได้จากบรรทัดต่อจากนี้…

 

 

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

 

ปวินเริ่มต้นด้วยการเฉลยที่มาของตัวเลข ซึ่งเป็นชื่องานเสวนาครั้งว่า…

112 คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112

901-3 เป็นโค้ดหมายถึง สถาบันฯ   

3-15 คือ จำนวนปีที่ติดคุก

ปี  2005 ตัวเลขการดำเนินคดีในมาตรา 112   33  คดี

ปี 2007  มี  126  คดี

ปี 2009 มี 164 คดี 

ปี 2010 มี 478 คดี 

และมีจำนวนเว็บไซต์ที่ถูกปิด 113000  เว็บไซต์

 

มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์และบริบทที่ทำให้เกิดการบังคับใช้ม.112

ปวินได้กล่าวถึงบริบทที่มีส่วนทำให้เกิดการใช้ 112 อย่างมากว่า เป็นเพราะมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ยังคงสืบทอดมา  แม้ว่าปี 2475 จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยยังคงมรดกนี้อยู่  เช่นการพูดถึงเรื่องความเป็นเอกราชของประเทศไทย  ที่เชื่อมโยงกับเกียรติภูมิของสถาบันพระมหากษัตริย์

นัก ประวัติศาสตร์ที่อยู่ในฝ่ายอนุรักษ์นิยม เห็นว่าเกรียติยศของสยามล้วนได้มาด้วยสาเหตุเดียว คือ พระปรีชาสามารถ และวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของบูรพกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือรัชกาลที่ 5 ที่ทรงใช้กลยุทธ์อันแยบยลในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แต่ อย่างไรก็ตามพระปรีชาสามารถที่ไม่สามารถจะหาผู้ใดเปรียบได้เลย กลับไม่สามารถสร้างหลักประกันให้กับรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ ภายหลังจากการสวรรคตของพระองค์เพียงแค่ 22 ปีเท่านั้น ประเทศไทยก็ได้พานพบกับการล่มสลายของสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ในสองรัชสมัยถัดมาคือ ในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7  ได้ แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับสภาพการณ์ทางการเมืองได้ จนถึงทุกวันนี้ ผ่านไปเกือบ 80 ปีนับจากการล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แม้ พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันจะทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการ ฟื้นฟูและสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพและพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 นั้น ได้สร้างความสั่นคลอนให้กับสถาบันกษัตริย์ คำถามจึงอยู่ที่ภายใต้สถานการณ์ที่สั่นคลอนนี้ สถาบันกษัตริย์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่น และที่สำคัญกว่านั้นคือ ความสามารถในการยึดโยงกับสังคมไทยแบบยุคใหม่อยู่ต่อไปได้หรือไม่ ดังนั้นมันเป็นสิ่งที่ทดสอบว่า สถาบันกษัตริย์จะยืนอยู่ได้ต่อไปหรือไม่ หรือจะทำให้ประเทศไทยกลับไปอยู่ในยุคของรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ที่ในสุดแล้วสถาบันกษัตริย์มีสถานะตกต่ำลงอย่างมาก แนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วไปทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ มองไปทั่วโลก สถาบันกษัตริย์ต่างล่มสลายไปแล้ว

อะไร คือมรดกตกทอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสิ่งนี้ได้หล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในหลายปีที่ผ่านมาอย่างไร เราอาจพูดได้ว่า ถึงแม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ล่มสลายไปหลายทศวรรษแล้ว แต่ยังคงมีผลกระทบในการครอบงำองคาพยพทางการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด จนถึงขนาดว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย รวมถึงตอกย้ำให้เห็นถึงความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังขยายตัวแตกร้าวยิ่ง ขึ้น และนี่คือสาเหตุเบื้องหลังความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่กี่ปี

การ ก้าวขึ้นสู่อำนาจของทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่ออมาตยชน วิธีหนึ่งที่พวกอมาตยชนใช้จัดการกับคุณทักษิณ คือ การกล่าวหาว่าทักษิณกำเริบเสิบสาน และไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ในกระบวนการนี้เอง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในจัดการกับฝ่ายตรง ข้าม และฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง แต่การใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นกลับส่งผลในทางตรงกัน ข้าม กล่าวคือ ได้ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลงอย่างมาก และขอกล่าวย้ำอีกทีว่า การจะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ยืนยงสืบไปได้นั้น ฝ่ายราชานิยมหรือ พวก “คลั่งเจ้า” ต้องยินยอมพร้อมใจ ส่งเสริมให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างแท้จริง รวมถึงการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีความล้าหลังอย่างมาก กลุ่ม “คลั่งเจ้า” จะต้องเลิกสมมติอย่างทึกทักไปเองฝ่ายเดียวว่า สถาบันกษัตริย์ยังได้รับความรักและจงรักภักดี โดยปราศจากคำถามจากสาธารณะชนเพราะนี่ไม่ใช่ความจริงอีกต่อไป

แม้ ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบสิ้นไปนานแล้ว แต่อิทธิพลของระบอบนี้ยังคงมีอยู่อย่างท่วมท้นและยังมีอำนาจอยู่มาก หากมองย้อนหลังกลับไป จุดประสงค์ดั้งเดิมของการล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็เพื่อยกเลิก รูปแบบการปกครองที่โบราณ ไร้อารยะ และให้สยามรับแนวความคิดแบบประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมกลับตระหนักถึงความจำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งลักษณะบางประการ ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อช่วยปกป้องสถานะทางอำนาจที่พวกเขาเคยมี

ปัจจุบัน มีมุมมอง 2 ด้าน หากพูดถึงสถาบันกษัตริย์ และมุมมองนี้ขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งมุมมองเหล่านี้เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพสกนิกร มุมมองหนึ่งเป็นมุมมองแบบมาตรฐานทั่วไปที่คนไทยมีต่อสถาบันกษัตริย์ มุมมองนี้จะเห็นได้จาก ข่าวในพระราชสำนัก และทั่วๆไป ซึ่งจะเน้นให้เห็นถึงคุณูปการของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ โดยหลักก็คือ การเป็นศูนย์รวมใจชาวไทยทั้งชาติและเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน

หนังสือเล่มหนึ่งที่อยากจะให้อ่าน ซึ่งตีพิมพ์แล้ว ชื่อ Saying the Unsayable: Monarchy and Democracy in Thailand (ของ Soren Ivarsson และ Lotte Isager-ประชาธรรม ) มีการพูดถึงมุมมองมาตรฐานแบบกษัตริย์(ซึ่งเขาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับมุมมองนี้) ขอสรุปสั้นๆ ว่า คือ ผู้เขียนพยายามอธิบายว่า มุมมองแบบนี้ กษัตริย์ คือ หนึ่งผู้ปกปักษ์รักษาทั้งจารีตประเพณี ชาติ และ ประชาธิปไตย เป็นนักพัฒนาของคนไทยทุกหมู่เหล่าที่ทรงมีความเป็นสมัยใหม่ คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ให้ความดูแลทุกข์สุขแก่พสกนิกรของพระองค์ และเป็นสถาบันที่หล่อหลอมวัฒนธรรมการเมืองและสังคมไทยเฉกเช่นเดียวกับที่ “ข้าว”เป็น อาหารหลักของคนไทยมาช้านาน แต่ในขณะเดียวกันพระราชอำนาจอันทรงพลานุภาพยังคงถูกปกป้องไว้ด้วยเกราะกำบัง ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้เกิดมุมมองอีกอันหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามต่อสถาบันกษัตริย์ มุมมองด้านนี้สะท้อนถึงความคิดที่ว่า การปกครองที่ยังมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางได้กลายเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาประชาธิปไตย โดยเฉพาะในกรณีที่ฝ่ายราชานิยมอย่างล้นเกินพยายามจัดวางพระมหากษัตริย์ใน ฐานะคู่แข่งของนักการเมือง ซึ่งถูกมองว่าเป็นการลดความสำคัญของสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจากนักประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยม รวมถึงสื่อที่มวลชนทั้งหลายในการสร้างภาพด้านลบต่อกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งแปดเปื้อนไปด้วยนักการเมืองเลวแบบทักษิณ รวมถึงนักการเมืองไร้ศีลธรรมอย่างทักษิณ สำหรับพวกเขาแล้ว ข้อบกพร่องของระบบการเมืองไทยไม่ได้เกิดจากการเข้ามาแทรกแซงของสถาบันอำนาจ ที่อยู่นอกเหนือระบบรัฐสภา แต่เกิดจากการบรรดานักการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบและไร้จริยธรรมต่างหาก ทัศนคติที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์นี้ จุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงไม่ได้หมายความว่าเป็นการจบสิ้นของ อิทธิพลทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ ในทางตรงข้ามมันกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ที่ฝ่าย ราชานิยมได้อ้างสิทธิโดยธรรมในการเข้าแทรกแซงทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเห็นว่ามีความจำเป็น แม้ว่าสิ่งที่พวกทำ อาทิ การปกป้องผลประโยชน์ทางการเมืองของตน จะมีความเลวร้ายไม่น้อยไปกว่าสิ่งที่ทักษิณได้ทำ เพราะฉะนั้น วิญญาณของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงยังคงหลอกหลอนการเมืองไทยอยู่ ตราบเท่าทุกวันนี้

เมื่อพูดถึง “สถาบันกษัตริย์” คำ นี้ไม่ได้หมายถึงพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียวหรือเสมอไป แต่หมายถึงองคาพยพทั้งหมดที่เกาะเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึง ราชนิกุล องคมนตรี  ที่ ปรึกษาและผู้ปฏิบัติงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท รวมถึงฝ่ายราชานิยมที่ได้ปวารณาตัวที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ในทุกภาคส่วน ของสังคม รวมถึง กองทัพ หน่วยงานราชการ พรรคการฝ่ายเมืองฝ่ายราชานิยม และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย กลุ่มราชานิยมนี้แม้ว่าจะมีจุดยืนร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งสถานะของพระมหา กษัตริย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กลุ่มคนพวกนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลุ่มเหล่านี้ก็มีผลประโยชน์แตกต่างกันไป ในมุมมองที่ต่างกันออกไป ดันแคน แมคคาร์โก (Duncan McCargo) ซึ่งได้เขียนเรื่อง  “Network Monarchy and Legitimacy Crisis in Thailand” ได้เรียกองคาพยพทั้งหมดนี้ว่า “Network Monarchy” หรือ “เครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์”

แมคคา ร์โก บอกว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจการเมืองไทย คือ การมองผ่านมุมมองของเครือข่ายอำนาจหลากหลายที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีการต่อรองกัน หรือแม้แต่มีการขัดแย้งกันต่อกัน

กลุ่ม กษัตริย์นิยมในรุ่นเก่าได้มีความพยายามรักษาไว้ซึ่งมรดกของระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ ควบคู่ไปกับความต้องการสถาปนาระบบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ (Thai-style democracy) ที่ ยังวนเวียนอยู่กับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรือพูดให้ง่ายก็คือ แม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบสิ้นไปแล้ว แต่คุณลักษณะหลายด้านของระบอบนี้ยังคงอยู่รอดปลอดภัย และได้รับการปกป้องไว้เป็นอย่างดี เรื่องนี้อาจารย์ธงชัย (ศ. ดร. ธงชัย วินิจจะกูล-ประชาธรรม) ได้พูดไว้หลายครั้งว่า  จน ถึงปัจจุบัน คตินิยมทางสังคมและทางการเมือง ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชุดความคิด และสถาบันพระมหากษัตริย์เอง ต่างยังคงฝังรากยึดโยงอยู่กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนให้สถาบันกษัตริย์มีบทบาทเป็นแบบอย่างของวิถีชีวิตคนไทยนั้นเป็น เหมือนดาบสองคมที่ส่งผลทางลบต่อพัฒนาการการเมืองของประเทศไทย

เนื่อง จากว่า การสรรเสริญเยินยอพระเมหากษัตริย์ที่มีอยู่อย่างไม่จบสิ้น และยังคงดำรงอยู่ และยกย่องให้สถาบันมีความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงเทวราชอย่างไม่หยุดหย่อน ตลอดรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดสายใยที่แนบแน่นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสังคมและการเมือง ทำหน้าที่เสมือนราวกับว่าเป็น “เรือนจำ” ที่กักขังไม่ให้คนไทยสามารถแสดงความคิดเห็นที่ต่างไปจากกรอบความคิดกระแสหลัก

“การคิดนอกกรอบ” หรือที่คุณทักษิณชอบพูดบ่อยๆว่า “Think out of the box” กลายเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะมันอาจคุกคามต่อสถานะของเครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และมักจะถูกลงโทษที่มีความรุนแรงสูงถึง 15 ปี  ตาม กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งกลายเป็นบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลก (ไม่รู้ว่าจะขำ ร้องไห้ หรือหัวเราะดี) เพราะการลงโทษแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศนี้เท่านั้น ที่อ้างตัวเองว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ  และมีคนรักพระมหากษัตริย์มากแต่ก็มีการลงโทษด้วยบทลงโทษที่รุนแรงอย่างมาก

กรอบ ความคิดดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่เรื่องสัพเพเหระไปจนถึงกฎเกณฑ์สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ต้องยืนตรงในโรงภาพยนตร์เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น การยืนตรงเคารพธงชาติทุกๆ 8 โมงเช้า และ 6 โมง เย็น และที่สำคัญที่สุดก็คือ ประชาชนจักต้องไม่แสดงการขัดขืนหรือต่อต้านเมื่อต้องเผชิญกับการแทรกแซงทาง การเมืองอย่างโจ่งแจ้ง ที่ทำได้อย่างนี้ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ

ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลงแล้วแต่กลุ่มคนพวกนี้สามารถเอาตัวรอดได้อย่าง ปลอดภัย ซึ่งกลยุทธ์การเอาตัวรอดได้ คือการสร้างความเชื่อที่ว่า ประเทศชาติจำเป็นต้องเลือกรับเฉพาะแนวคิดที่เหมาะสมกับประเทศเท่านั้น โดยเฉพาะแนวคิดที่มีต้นกำเนิดจากต่างชาติ เช่นว่า ประชาธิปไตยนั้นจะต้องถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเชื่อ วัฒนธรรม ชุดความคิด และขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นดั้งเดิม ไม่อย่างนั้นแล้วประเทศไทยจะสูญเสียเอกลักษณ์ที่เรียกว่า “ความเป็นไทย” แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การปกป้องผลประโยชน์ของคนกลุ่มเล็ก กลุ่มเดียว

ประชาธิปไตยของไทยเป็นแค่เปลือกนอก เนื้อในนั้นยังคงมีอุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยมฝังรากลึก นี่คือสิ่งที่คนไทยส่วนมากเรียกว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” กล่าว คือ แม้ว่าจะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยแต่ฝ่ายราชานิยมก็ยังคงมีบทบาทสำคัญใน ทางการเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นได้ถูกนฤมิตขึ้นให้สอด คล้องกับทัศนะของคนกรุงเทพฯ เป็นหลัก รวมถึงการสร้างประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม ยกตัวอย่างเช่น บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการปกป้องและสร้างอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกฝังอยู่ในจิตสำนึกของประชาชน มีการสรรเสริญบูรพกษัตริย์อย่างไม่หยุดหย่อน ในเรื่องของพระปรีชาสามารถในการปกป้องผืนแผ่นดินไทย และมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการขับไล่ผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองออกจากประเทศ ด้วยเหตุของการ “เนรคุณ” บูรพ กษัตริย์ ดังนั้น บ่อยครั้งที่กลุ่มราชนิยมได้กระตุ้นให้เกิดกระแสชาตินิยม โดยการเน้นย้ำถึงการสูญเสียดินแดนบางส่วนที่เชื่อว่าเคยเป็นผืนแผ่นดินไทย ทั้งๆ ที่ในความจริงนั้น วาทกรรมเรื่องการเสียดินแดนเป็นแค่มายาคติ ชุดความคิดนี้ไม่เพียงแต่กระตุ้นให้เกิดกระแสชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่ยังรวมถึงกระแสราชานิยมด้วย ถึงระดับที่ว่า เพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และแผ่นดินไทยประชาชนต้องพร้อมที่จะ สละชีพ หากว่าเราถูกรุกรานโดยศัตรูทั้งนอกและในประเทศ อ.ธงชัยพูดว่า อันนี้เป็นวาทกรรมของการส่งไพร่ให้ไปตายฟรี  ด้วย ปรัชญาเหล่านี้เอง จึงทำให้ไม่เหลือพื้นที่ให้กับคนที่มีความเห็นต่าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ตั้งคำถามถึงบทบาทที่แท้จริงของสถาบันกษัตริย์ในการเมือง ไทย

ใน หลายปีที่ผ่านมา กระบวนการยกย่องสรรเสริญสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เพิ่มความเข้มข้นมากยิ่ง ขึ้นจนถึงระดับที่น่าเป็นห่วงและกังวลใจ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นมากกว่าประมุขของประเทศ ถูกยกย่องให้กลายเป็นเหมือนเทพเจ้าที่ใครจะล่วงละเมิดมิได้ ซึ่งมันขัดกับความเป็นจริงหลายๆอย่าง เพราะมีภาพลักษณ์อีกด้านหนึ่งที่คนสร้างให้เกิดกับสถาบันกษัตริย์ นั่นคือความเป็น “พ่อของแผ่นดิน” จน ตนเองไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีภาพลักษณ์แบบไหน เพราะมันต่างกันเยอะระหว่าง “ความเป็นเทพ” กับ “ความเป็นพ่อ” พ่อ คือ ปุถุชนทั่วไป แต่ เทพคือคน ที่เราเอื้อมไปถึง ภาพลักษณ์ที่ต่างกันนี้ได้ปรากฏอย่างชัดเจน ภาพของ “ความเป็นพ่อ” เกิดขึ้นก่อน

การ พยายามสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ส่วนมาก มักจะเป็นผลงานของฝ่ายราชานิยม หรือ พวก “คลั่งเจ้า”แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นผลมาจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เอง โดยเฉพาะในฐานะ “กษัตริย์นักพัฒนา” ผู้มีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมไทย

อาจารย์ ธงชัย ได้กล่าวไว้ที่สิงคโปร์ว่า การกลับมาของลัทธิราชานิยมในฐานะวัฒนธรรมสาธารณะว่า การเพิ่มขึ้นของความนิยมต่อพระมหากษัตริย์จะเห็นได้ชัดในช่วงหลังการจลาจลใน ปี 2516 โดยความนิยมนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า สถาบันกษัตริย์ได้เข้ามามีส่วนในการยุติวิกฤตทางการเมืองในครั้งนั้น รวมถึงครั้งต่อมาในปี 2535 ด้วย นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เข้ามา มีบทบาทสำคัญทางการเมือง โดยในช่วงของสงครามเย็นที่แนวคิดระบอบคอมมิวนิสต์กำลังแพร่ขยายในภูมิภาคนี้ สถาบันกษัตริย์ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้กับขบวน การคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งหลังจากที่สงครามเย็นจบลงแล้ว แม้แต่กระทั่งรัฐบาลหลายชุดถูกโค่นล้มไปมาก แต่ตำแหน่งและสถานะของสถาบันกษัตริย์กลับมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นมาโดยตลอด การเข้ายุติจลาจลในปี 2535 หลายคนเห็นว่าเป็นเหมือน “trophy” หรือ ชัยชนะอีกชิ้นหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ในฐานะของผู้รักษาเสถียรภาพให้กับระบบ การเมืองไทย จึงเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายของฝ่ายราชานิยมนั้นยากที่แยกออกจากการเมือง แต่คำถามสำคัญก็คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้เหมาะสมกับประเทศไทย มากน้อยเพียงใด และที่ได้ย้ำไปข้างต้นว่า มีลักษณะหลายด้านของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปรับให้เข้ากับระเบียบการ เมืองแบบใหม่ในปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะเหล่านั้นไม่สามารถอยู่ร่วมกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตย นำไปสู่ความขัดแย้งทางด้านกรอบความคิด อาทิ ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของพระมหากษัตริย์และอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของ ประชาชน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Royal power VS Popular mandate  อาจารย์ ธงชัยเห็นว่าที่จริงแล้ว คำว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”นี้ เป็นคำปฏิพจน์ที่มีความหมายขัดแย้งในตัวเอง (oxymoron) เหมือนกับหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองทั้งหมดเข้าไปในตัวมัน

Paul Handley ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The King Never Smiles ได้ ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ฝ่ายราชานิยมมีบทบาทเด่นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างต่อเนื่องมา โดยตลอด ทำให้ดูเสมือนราวกับว่า พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในเกมการเมืองเสียเอง และก่อให้เกิดคำถามต่อความเข้าใจที่ว่า สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เมื่อใดก็ตามที่สถาบันกษัตริย์ถูกดึงเข้ามาสู่พื้นที่สาธารณะในบทบาทของการ เป็นตัวแสดงทางการเมือง ก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางอำนาจ หากมองเช่นนี้ เมื่อใดก็ตามที่ไทยมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ก็มักถูกมองว่าเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่ทักษิณ สมัคร สมชาย และอาจรวมถึงยิ่งลักษณ์ ดังที่กล่าวข้างต้น หนทางหนึ่งของการกำจัดภัยเหล่านี้คือการใช้มาตรา 112 ในการห้ำหั่นคู่ต่อสู้

ตาม สถิตินั้นคดีหมิ่นฯเพิ่มสูงขึ้นเรื่องเรื่อยๆภายหลังจากการรัฐประหาร เพิ่มขึ้นเป็น 3-4 เท่า ในช่วงเวลาที่จำนวนคดีดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ภายใต้รัฐบาลของ พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(2551-2554)  ดร. David Streckfuss บอกว่า ตัวเลขทั้งหมดมันไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง อาจะมีตัวเลขมากกว่านี้ เพราะไม่รวมกับผู้ที่ถูกจับกุมภายใต้ข้อหาละเมิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

 

ม.112 กับการกำหนดโฉมหน้าศัตรูทางการเมือง

นายปวิน กล่าวอีกว่า เรื่องม.112  เป็นที่รู้กันว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง  ใน การกำหนดโฉมหน้าศัตรูที่อยู่นอกประเทศ เช่นในช่วงความขัดแย้งกับกัมพูชา กลุ่มพวก “คลั่งเจ้า” บอกว่า ทักษิณร่วมมือกับฮุนเซน เพราะฉะนั้นฮุนเซนต้องไม่มีความปรารถนาดีกับสถาบันกษัตริย์ไทย เป็นต้น

ศัตรูทางการเมือง สร้างทำกันได้ง่ายๆ โดยไม่มีหลักฐานอะไรยืนยันว่า บุคคลนั้นเป็นภัยต่อสถาบันจริงหรือไม่  กระบวนการนี้ถูกเคลื่อนพร้อมกับการสรรเสริญเยินยอสถาบันกษัตริย์อย่างล้นเกิน  หากมองย้อนกลับไปจะพบว่าการตั้งข้อหาหมิ่นฯกับคนต่างๆที่เป็นศัตรูเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ คือ ก่อนรัฐประหาร  การดำเนินคดีหมิ่นฯต่อใครก็ตามค่อนข้างมีขอบเขตที่ชัดเจน มีเป้าหมาย  ส่วน ใหญ่เป็นเครื่องมือที่ใช้ประหัตประหารในหมู่อำมาตย์ด้วยกันเอง ยกตัวอย่างเช่น พรรคไทยรักไทยของคุณทักษิณก็เคยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่านำสถาบันมาเป็น ส่วนหนึ่งของการช่วยหาเสียงในการเลือกตั้ง รวมทั้งการกล่าวหากันไปมาระหว่างคุณทักษิณกับคุณสนธิว่า ใครรักเจ้ามากกว่ากัน แต่โดยรวมแล้วใช้เพื่อกำจัดคู่แข่งขันทางการเมือง 

แต่ภายหลังการรัฐประหารเมื่อเวทีทางการเมืองได้เปิดกว้างมากขึ้น  เริ่มเกิดคำถามมากมายต่อการผูกขาดอำนาจของกลุ่มอำมาตย์ เครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์  การดำเนินคดี 112  จึงมีการฟ้องร้องมากขึ้น  การ ฟ้องร้องไม่เพียงตั้งเป้าฟ้องร้องคู่แข่งทางการเมืองเท่านั้น แต่ตั้งเป้ากับทุกคนที่มีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน ตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าทำไมมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดมาตรา 112 มากขึ้น ก็เมื่อกลุ่มพันธมิตร กองทัพ และพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้คนไทยแสดงความสำนึกในความเป็นไทย ด้วยการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ทุกคนต้องทำ ถ้าเป็นแบบนี้เท่ากับกลายเป็นการบังคับว่า ถ้าไม่รักเจ้า  ก็เป็นศัตรู  ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถบังคับให้ใครรักใครได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นศัตรูของคนคลั่งเจ้าคือคนที่ไม่รักเจ้า 

กระบวนการที่ว่าใครเป็นศัตรู เป็นการทำที่อึมครึม ไร้เหตุผล  ไม่มีกระบวนการชี้ให้เห็นว่า คนๆนั้นมีความจงรักภัคดีต่อสถาบันกษัตริย์จริงหรือไม่  เช่น การทำผังล้มเจ้าขึ้นมา  ซึ่ง การเขียนผังแบบนี้ไม่สร้างผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น เป็นการทำลายศัตรูและคนที่เห็นต่าง โดยไม่มีหลักฐานใด ไม่อธิบายเหตุผลเกี่ยวโยงว่าทำไมบุคคลนี้จึงเข้ามาอยู่ในเครือข่ายนี้  ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับผังของอเมริกาในการจัดการกับผู้ก่อการร้าย

 

10 เหตุผล(บัญญัติ 10 ประการ): ทำไมม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

นาย ปวินกล่าวถึงเหตุผลที่มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองว่า หนึ่ง ม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์  หลังรัฐประหารสถาบันฯอ่อนแอลงมาก เนื่องจากการเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยตรงของเครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ (Network Monarchy) หรือกลุ่มคลั่งเจ้าใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น สโลแกน “สู้เพื่อพ่อ” การใช้สัญญาลักษณ์สีเหลือง ฯลฯ นอกจากนี้สถาบันฯและเครือข่ายไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงทางการ เมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ

สอง ม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปกปิด ความหวาดวิตกต่อการสืบสันติวงศ์ของสถาบันฯ  ซึ่งความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันได้เปิดเผยอย่างเป็นอารยะ หรือเป็นวิชาการ   แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะพูด หรือถกเถียงในเรื่องนี้ได้เลย    ม.112  จึงกลายเป็นเครื่องมือปิดกั้นการโต้เถียงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในพระราชสำนักที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ทั้งที่จริงแล้วกลุ่มคลั่งเจ้าเป็นกลุ่มที่อยู่ในวิตกจริตว่า จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเหตุการณ์นั้นมาถึง  ซึ่งถ้าประชาชนสามารถพูดกันได้อย่างตรงไปตรงมา จะทำให้สังคมมีความพร้อม เข้าใจต่อความเปลี่ยนแปลง สามารถหาทางออกเพื่อลด Tension (ความตึงเครียด-ประชาธรรม)ที่มันจะเกิดขึ้น

สาม ใช้ม.112 เพื่อเป็นเครื่องมือครอบงำ และควบคุมสังคม เป็นเครื่องมือของชนชั้นนำในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อคงไว้ ซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ของตนเอง   สุนทรพจน์ต่างๆที่เกี่ยวกับสถาบันฯ ที่มาจากกองทัพ  ชน ชั้นนำ บุคคลสำคัญของสังคม(บุคคลที่หลายคนเชื่อว่าเป็นคนดีของสังคม)มักจะเน้นให้คน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อประเทศชาติเผชิญกับภาวะวิกฤติ  เพราะไม่อยากให้คนคิดเห็นต่างกับตนเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาตั้งแต่ต้น เพราะเป็นความคิดแบบ Top Down (จาก บนลงล่าง-ประชาธรรม)และไม่สะท้อนกับความเป็นจริง เพราะประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายอย่างมาก มันจึงไม่ใช่ยุคที่จะพูดถึงเรื่องความสามัคคี  แต่เป็นยุคที่เคารพในความเห็นที่แตกต่าง

สี่ ม.112 ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นปกครองทั้งหลาย แยกคนรวยออกจากคนจน แยกคนมีฐานะกับคนไม่มีฐานะ ทำให้กลุ่มคนรากหญ้าที่ขยายตัวมากขึ้นอ่อนแอลง ไม่สามารถรวมตัวเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางการเมือง  เช่นการฟ้องร้อง บก.ประชาไท  โดย ชนชั้นนำ เพราะต้องการปกป้องสถานะทางสังคมของตัวเอง ไม่อยากให้สื่ออย่างประชาไทเติบโตขึ้นมาและมาเป็นภัยกับกลุ่มชนชั้นของตัว เอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการชะลอสภาพความ “ตาสว่าง”

ห้า ม.112 ถูกใช้เพื่อคงบทบาททางการเมืองของกองทัพ เพราะกองทัพเกี่ยวโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ใช้กำจัดและต่อต้านทหารที่ตนเองคิดว่าไม่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และกระทำในนาม เพื่อปกป้องสถาบัน การที่ประยุทธ์ให้ยกเลิกการรณรงค์เรื่อง 112 จะเห็นว่า นี่เป็นการแทรกแซงการเมืองของกองทัพอย่างโจ่งแจ้ง

หก ม.112 เป็นเครื่องมือในการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค และระหว่างประเทศ  หลายๆ ประเทศนั้นอยู่ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย  ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” หรือถ้ายกตัวอย่างใกล้ตัว อย่างในอาเซียนก็เต็มไปด้วยทรราช  อย่างเช่น อินโดนีเซียที่เคยมีเผด็จการซูฮาร์โต ก็เริ่มเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  หรือประเทศพม่าที่เริ่มมีการเลือกตั้ง เป็นต้น  กลุ่มอำมาตย์นั้นมองเห็น และเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่มี จึงพยายามปิดกั้นสังคมไทยจากสิ่งที่ที่เขาคิดว่าเป็นภัยที่มาจากภายนอกประเทศ

เจ็ด ม.112 ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดโฉมหน้าศัตรู เพื่อสร้างความชอบธรรมหรือพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายของ กลุ่มชนชั้นปกครอง นอกจากนี้ศัตรูยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้ความหมายของการต่อสู้ทางการ เมือง  เช่น การชี้ว่ากลุ่มนิติราษฏร์เป็นศัตรูต่อสถาบันกษัตริย์  ทั้งๆ  ที่ข้อเสนอนิติราษฎร์นั้นเป็นผลดีต่อสถาบันฯ เป็นต้น

แปด ม.112 เป็นเครื่องมือในการคงไว้ซึ่งอำนาจ  ตำนานหรือความเป็นชาติ  Concept ของ “ความเป็นไทย” คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสำรวจพฤติกรรมของคนในสังคมมาเป็นระยะเวลายาวนาน เอกลักษณ์ของชาติทำให้คนต้องทำตามธรรมเนียม  ห้ามคนไทยก้าวล้ำหรือละเมิดอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำ 

เก้า ใช้ม.112 ในการต่อสู้กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารสมัยใหม่  เมื่อ การโต้เถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์ในที่สาธารณะถูกปิดตัวลง โลกของอินเตอร์เน็ตกลายเป็นเวทีที่ทำให้หลายคนแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เป็นความเห็นที่อาจจะขัดกับหลักประเพณี เพราะฉะนั้นโลกไซเบอร์จึงกลายเป็นสนามให้คนท้าทายอำนาจของสถาบันฯ  และทำให้คนมองเห็นความเป็นจริงอีกรูปแบบหนึ่ง  ที่ไม่ใช่ตำนานที่อยู่รายล้อมสถาบันกษัตริย์  ความพิเศษของโลกไซเบอร์นั้นคือ เคลื่อนไหวได้ เข้าถึงง่าย  ต้นทุนต่ำ  ลักษณะเหล่านี้กลายเป็นภัยต่อการปกป้องเกียรติภูมิของสถาบันกษัตริย์แบบเก่า  (ตัวเลข 145,000 เว็บไซต์ที่ถูกปิด)

สิบ ม.112 เป็นเกมที่ใช้ในการแสดงจำอวดเรื่องความจงรักภักดี    การ ที่กลุ่มคลั่งเจ้าพยายามทำบางอย่างเพื่อบังคับให้คนรักสถาบันฯ ยิ่งทำให้คนไทยหลายๆคนมีความเห็นในทางลบและกลายเป็นการทำลายสถาบันเสีย มากกว่า

นาย ปวิน กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยและสถาบันกษัตริย์จะอยู่รอดต้องปฏิรูปม.112 เป็นวิธีเดียวที่สถาบันฯ จะอยู่คู่กับสังคมไทยได้ แต่ตนก็ไม่เชื่อว่ากลุ่ม “คลั่งเจ้า” จะเข้าใจในจุดนี้  และในรัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีปัญหาอยู่มาก เพราะได้ประกาศแล้วว่าไม่แก้ 112   มองอนาคตข้างหน้าจึงมืดมัว  เราคงต้องต่อสู้กันต่อไป.

 ที่มา

http://prachatham.com/detail.htm?code=i1_28022012_01

Leave a comment