วิเคราะห์…พรรคเพื่อไทยกับการเสนอนโยบาย

วิเคราะห์…พรรคเพื่อไทยกับการเสนอนโยบาย
โดยนายสหณัฐ มณีกุล

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ที่ผ่าน คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ได้จัดงานสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการ และจากการสัมมนาครั้งนี้ คณะทำงานพรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายเพิ่มเติมจากที่เคยเสนอนโยบายไปก่อนหน้านี้ คือ นโยบายยกระดับรายได้ให้พี่น้องชาวไทยทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไรก็ตาม ทั้งนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท ,เงินเดือนผู้จบปริญญาตรีสาขาทั่วไปขั้นเริ่มเข้าทำงาน 15,000 บาท ปรับราคาสินค้าเกษตรทุกตัว เช่น ข้าวเปลือกเจ้าจะใช้ระบบจำนำที่เกวียนละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นเพียง 3 นโยบายจาก 20 นโยบายที่พรรคเพื่อไทยพร้อมจะทำหากได้เป็นรัฐบาล

แต่ที่หน้าสนใจคือ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย มีการเสนอนโยบาย 3-6 (เดือน) ลดรายจ่าย ได้แก่

1. นโยบายลดรายจ่าย
-หนี้ไม่เกิน 5 แสน พักหนี้ 5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย
-หนี้ไม่เกิน 5 ล้าน ยืดเวลาชำระหนี้ 10 ปี ให้เกษตรกร
-ธนาคารประชาชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

2. นโยบายเพิ่มรายได้ จะดำเนินการสำหรับ 6 เดือนถัดมา ได้แก่
เกษตรเศรษฐี
บินก่อนผ่อนทีหลัง
ลดดอกเบี้ยเพื่อประชาชน
3. นโยบายขยายโอกาส สำหรับ 6 เดือนที่สาม ประกอบด้วย
โครงการ SML 5-7-9 แสนบาท
1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรมเกษตร
ท่องถิ่นแดนไทยไปได้ทุกมุม
โครงการกองทุนตั้งตัวได้
แก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา (พลังครู)
ศูนย์ซ่อมสร้างโดยนักศึกษาอาชีวะ (โครงการFix It Center)
โครงการที่พักอาศัย
โครงการพุทธบูชาเยือนสังเวชนียสถานของพระภิกษุ

นอกจากนี้ ในการสัมมนายังเสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนด้วย คือ
สร้างเขื่อนและประตูกันน้ำทะเลหนุน และประตูเพื่อระบายน้ำลงทะเลรอบกรุงเทพฯ สมุทรปราการ พร้อมเพิ่มพื้นที่เขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ต้องกู้เงิน
สร้างแก้มลิงตามแนวพระราชดำริตามแนวบริเวณที่ลุ่มของแม่น้ำสายหลักทั่ว ประเทศรวมทั้งแม่น้ำโขงเพื่อกักน้ำไว้เวลาน้ำมาก เรียกว่าเบรกน้ำ และเก็บไว้ใช้ยามน้ำน้อย และไม่ต้องกู้เงิน
ขุดเชื่อมแม่น้ำสายหลักที่ไม่ไกลกันมากเข้าหากันเหมือนที่เคยทำแล้วโดย เชื่อมแม่น้ำยมเข้ากับแม่น้ำน่าน ทำให้สามารถผันน้ำไปมา ตามปริมาณน้ำได้
สร้างป่าชุมชนขึ้น 1 หมู่บ้าน 1 ป่าชุมชน เพื่อเกิดพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น
พื้นป่าต้นน้ำ ปลูกหญ้าแฝกกันดิน (Soil Erosion) ตามแนวพระราชดำ
—————————–

แต่นโยบายที่น่าสนใจที่สุดในส่วนตัว ต้องยกให้เป็นนโยบาย “3-6 (เดือน) ลดรายจ่าย” เหตุผล เพราะว่านโยบายดังกล่าว สามารถที่จะช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าเม็ดเงินและช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างทางการเงินของพวกเขา

ยกตัวอย่างเช่น นโยบายพักหนี้ เป็นการพักหนี้ภาคเกษตรกรไทย ให้สามารถลืมตาอ้าปากได้บ้าง ไม่ต้องมาทำไร่ทำสวนใช้หนี้จนหัวโต เพราะการทำไร่ทำสวนในหนึ่งรอบการเก็บเกี่ยวเฉลี่ยไวสุดอยู่ที่ 1 เดือน แต่ถ้าเป็นการทำนาก็อยู่ที่ประมาณ 4 เดือน การเก็บเกี่ยวแม้บางครั้งดูเหมือนจะได้มาก ถ้าเทียบจากราคาสินค้าที่ขายในท้องตลาด

แต่ความเป็นจริงเกษตรได้เงินจากผลผลิตนั้นถึงครั้งหนึ่งของราคาหรือเปล่า?

หากปีไหนผลผลิตตกต่ำ หรือได้รับภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วม แม้เกษตรกรจะได้เข้าร่วมโครงการรับประกันพืชผลกับรัฐบาล ก็ใช่ว่าจะมีพอ สำหรับนำเงินที่ได้มาไปชำระหนี้และใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้เพียงพอ

ดังนั้นการพักหนี้จึงถือเป็นก้าวแรกให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขได้อยากจริงจัง เป็นจุดเริ่มของการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรกร ดังนั้น นโยบายในส่วนของการเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาศก็จะตามมาเอง

สำหรับภาคประชาชนที่เป็นมนุษย์เดือนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท คงจะได้มีโอกาส ทำในสิ่งที่อยากทำได้บ้าง เมื่อมีนโยบายลดดอกเบี้ยเพื่อประชาชน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สินได้ง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะผมเอง เชื่อว่ามษุนย์เงินเดือนในระดับรายได้เท่านี้ ก็ฝันที่จะอยากมีบ้านมีรถ หรือมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ไม่สามารภทำอะไรได้เพราะภาระหนี้ ผมว่ากลุ่มเหล่านี้ น่าจะมีอยู่ไม่น้อยเลย เนื่องจากค่าครองชีพในปัจจุบันค่อยข้างสูง ยินคนที่มีครอบครัวมีลูกวัยกำลังเข้าเรียน ค่าเทอมแต่ละเทอมก็ไม่ใช่น้อยๆในสมัยนี้ จึงหนี้ไม่พ้นการต้องเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ

และนโยบายชุดสุดท้ายมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่เยอะมากๆ อย่างโครงการ SML ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ หรือโครงการกองทุนตั้งตัวได้ โครงการนนี้น่าจะเป็นลักษณะของการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินในการประกอบกิจการ หรือผู้ที่ไม่มีงานทำแล้วต้องการเปิดร้านขายของเล็กๆหรือกิจการเล็กๆก็เป็นไปได้ และโครงการที่พักอาศัย ก็เหมาะสำหรับคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเองแต่มีรายได้น้อย

แต่ปัญหาที่อยากให้แก้ไขก่อนก็คือ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา ตรงนี้ก็สำคัญ เพราะครูจะได้มีกำลังสอนได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะไม่ต้องมาหากินกับเด็ก คือการสอนพิเศษให้เด็กนักเรียน ส่วนตัวมองว่า อาชีพครูกับอาชีพครูสอนพิเศษ ควรจะต้องแยกจากกัน เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพเท่าเทียบกัน “เพราะถือว่าเป็นการวัดมาตรฐานของคุณครูแต่ละคนด้วย” ไม่ใช่กสนวัดมาตรฐานของนักเรียนด้วยวิธีการสอบให้เกรดนักเรียนเพียงอย่างเดียว ทำไมถึงต้องแยก เพราะผมเชื่อว่า “ถ้าครูสอนดี สอนเข้าใจง่าย นักเรียนต้องเข้าใจ” ไม่ใช่สอนเพื่อผ่านๆ แล้วก็มาเปิดสอนพิเศษเก็บเงินเด็กต่างหากจากเงินเดือนที่ตัวเองได้รับ

ดังนั้น นโยบายที่พรรคเพื่อไทยเสนอนั้น ถ้าทำได้ผมว่า มันจะเป็นอะไรที่เป็นผลดีต่อประเทศไทยได้อย่างแน่นอน และภาคประชาชนจะคอยเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานเอง…

และนี้ก็เป็นเพียงหนึ่งเสียงของประชาชนในประเทศไทย เพียงคนหนึ่ง…

Leave a comment